ต้นปาล์ม
ชื่อสามัญ ; ปาล์มน้ำมัน(Oil palm) น้ำมันปาล์ม(Crude palm oil)
เรียกย่อว่า ; CPO
ชื่อวิทยาศาสตร์ ; Elaeis guineensis Jacq
ประวัติ
ปาล์มน้ำมันมีถิ่นกำเหนิดในแถบแอฟริกาตะวันตก
ชาวโปรตุเกสได้นำปาล์มน้ำมันมาปลูกในทวีปเอเชียโดยเริ่มปลูกที่สวนพฤษศาสตร์
เมืองโบกอร์ ประเทศอินโดนีเซีย ราวปี พ.ศ. 2391 จากนั้นเแพร่กระจายพันธุ์มายังเกาะสุมาตราในช่วงปี พ.ศ. 2396-2400 และเริ่มปลูกค้าขายจริงจังเมือปี พ.ศ. 2454
สำหรับประเทศมาเลเซียได้ให้ความสนใจและเริ่มศึกษาวิจัยครั้งแรกในรัฐ Selangor
และเริ่มปลูกการค้าครั้งแรกในปี พ.ศ. 2460
จนถึงปัจจุบันมาเลเซียมีพื้นนที่ปลูกปาล์มน้ำมัน ประมาณ 37.04 ล้านไร่
ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2472 มีการนำปาล์มนำมันมาปลูกในประเทศไทยที่สถานีทดลองยางคอหงส์
จังหวัดสงขลาและสถานีกสิกรรมพลิ้ว จังหวัดจันทบุรี โดยปลูกเป็นปาล์มประดับ
ส่วนการส่งเสริมการปลูกเป็นพื้นที่ขนาดใหญ่นั้นเริ่มเมื่อปี พ.ศ. 2511 โดยโครงการนิคมสร้างตนเองพัฒนาภาคใต้ จังหวัดสตูล ประมาณ 20,000 ไร่ และโครงการบริษัทอุตสาหกรรมน้ำมันและสวนปาล์มจำกัด (สวนเจียร วานิช)
ตำบลปลายพระยา อำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่ประมาณ 20,000 ไร่
และได้มีการเพิ่มพื่นที่การเพาะปลูกมาขึ้นเรื่อยๆ จนในปี พ.ศ. 2546 มีพื้นที่เพาะปลูกปาล์มน้ำมันประมาณ 2,100,000 ไร่
โดยจังหวัดที่ปลูกมากที่สุดคือ กระบี่
สุราษฎร์ธานี และชุมพร ตามลำดับ
ลักษณะทางพฤกษาศาสตร์
รากปาล์มน้ำมันมีระบบรากฝอย
รากอ่อนจะงอกออกจากเมล็ดเป็นอันดับแรก เมื่อต้นกล้าอายุได้ประมาณ 2 - 4 เดือน รากอ่อนจะหยุดเจริญเติบโตและหายไป
ระบบรากจริงจะงอกจากส่วนฐานของลำต้น ต้นปาล์มที่เจริญเติบโตเต็มที่นั้น ประกอบด้วย
รากแรกที่หยั่งลึกลงผิวดินช่วยยึดลำต้นบ้างเล็กน้อย และมีรากสอง
สามและสี่ที่แตกแขนงออกมาตามลำดับ ทอดไปตามแนวนอน
จะเป็นระบบรากสานกันอย่างหนาแน่นอยู่บริเวณผิวดินระดับลึก 30 - 50 เซนติเมตร
ลำต้นปาล์มน้ำมันมีลำต้นตั้งตรง
มียอดเดี่ยวรูปกรวย ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 10 - 12 เซนติเมตร สูง 2.5 - 4 เซนติเมตร
ประกอบด้วยใบอ่อนและเนื้อเยื่อเจริญต้นปาล์มน้ำมันในระยะ 3
ปีแรกจะเจริญเติบโตทางด้านกว้าง หลังจากนั้นลำต้นจะยืดขึ้นปล้องฐานโคนใบ
และข้อจะปรากฏให้เห็นก็ต่อเมื่อปาล์มน้ำมันอายุมากแล้ว
ทางใบจะติดอยู่กับลำต้นอย่างน้อย 12 ปี
หรือมากกว่านั้นแล้วเริ่มหลุดจากใบล่างขึ้นไปทางใบบนลำต้นมีการจัดเรียงตัวเวียนตามแกนลำต้น
รอบละ 8 ทางใบ 2 ทิศทาง
คือเวียนซ้ายและเวียนขวา เส้นผ่าศูนย์กลางลำต้น ประมาณ 20 - 75 เซนติเมตร โดยทั่วไปลำต้นมีความสูงเพิ่มขึ้นประมาณ 35 - 60 เซนติเมตรต่อปี ขึ้นกับสภาพแวดล้อมและพันธุกรรม
ปาล์มน้ำมันมีความสูงได้มากกว่า 30 เมตร
และมีอายุยืนนานมากกว่า 100 ปี
แต่การปลูกปาล์มน้ำมันเป็นการค้า ไม่ควรมีความสูงเกิน 15 - 18 เมตร หรืออายุประมาณ 25 ปี
ใบของปาล์มน้ำมันเป็นใบประกอบรูปขนนก (pinnate) แต่ละใบแบ่งออกเป็น 2 ส่วน
คือส่วนแกนกลางที่มีใบย่อยอยู่ 2 ข้าง และส่วนก้านทางใบ
ซึ่งมีขนาดสั้นกว่าส่วนแรกและมีหนามสั้น ๆ อยู่ 2
ข้างแต่ละทางมีใบย่อย 100 - 160 คู่ แต่ละใบย่อยยาว 100
- 120 เซนติเมตร กว้าง 4 - 6 เซนติเมตร
ดอกปาล์มน้ำมัน เป็นพืชผสมข้าม มีดอกเพศเมียและดอกเพศผู้แยกช่อดอกภายในต้นเดียวกัน (monoecious) ที่ตำแหน่งของทางใบมีตาดอก 1 ตา อาจจะพัฒนาเป็นช่อดอกเพศผู้หรือเพศเมีย บางครั้งจะพบว่ามีช่อดอกกะเทยซึ่งมีทั้งดอกเพศผู้และเพศเมียอยู่รวมกัน (hermaphrodite) การบานของดอกปาล์มน้ำมันแต่ละดอกไม่พร้อมกัน การพัฒนาจากระยะตาดอกจนถึงดอกบานพร้อมที่จะรับการผสม (anthesis) ใช้เวลาประมาณ 33 - 34 เดือน การเปลี่ยนเพศของตาดอก (sex differentiation) จะเกิดขึ้นในช่วง 20 เดือนก่อนดอกบาน ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ช่อดอกจะพัฒนาเป็นช่อดอกเพศเมียเป็นส่วนใหญ่ การผสมเกสรมีลมและแมลงเป็นพาหะ โดยเฉพาะด้วงงวงปาล์มน้ำมัน (Elaeidobius kamerunicus) เป็นแมลงที่ช่วยผสมเกสรที่สำคัญหลังจากการผสมเกสร 5 - 6 เดือน
ช่อดอกตัวเมียจะพัฒนาไปเป็นทะลายที่สุกแก่เต็มที่ สามารถเก็บเกี่ยวได้ ดอกตัวเมียมีกาบหุ้ม (bract) เจริญเป็นหนามยาว 1 อัน กาบรอง (bractiole) 2 แผ่นและมีกลีบดอก (perianth) 2 ชั้น ๆ ละ 3 กลีบ ห่อหุ้มรังไข่ 3 พูไว้ ยอดเกสรตัวเมียมี 3 แฉก เมื่อดอกบานแฉกนี้จะโค้งเปิดออก วันแรกกลีบดอกเป็นสีขาว ตรงกลางมีต่อมผลิตของเหลว เหนียว วันต่อมาเปลี่ยนเป็นสีชมพู วันที่ 2 - 3 ของการบานของดอกจะเป็นระยะที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการผสมพันธุ์ปาล์มน้ำมันวันที่สามเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลอ่อนและวันที่สี่เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลหลังจากผสมเกสรแล้วยอดเกสรตัวเมียจะเปลี่ยนเป็นสีดำและแข็งปาล์มน้ำมันที่โตเต็มที่แล้วช่อดอกตัวเมียมีช่อดอกย่อย ประมาณ 110 ช่อ และมีดอกตัวเมียประมาณ 4,000 ดอก ดอกตัวผู้ที่เจริญเต็มที่ก่อนที่จะบานมีขนาดกว้าง 1.5 - 2 มิลลิเมตร ยาว 3 - 4 มิลลิเมตร ถูกห่อหุ้มด้วยกาบหุ้มรูปสามเหลี่ยม 1 แผ่น มีกลีบดอก 2 ชั้น ชั้นละ 3 กลีบ มีเกสรตัวผู้ 6 อัน รวมกันอยู่เป็นท่อตรงกลางดอก อับเกสรตัวผู้มี 2 พู ละอองเกสรจะหลุดจากช่อดอกทั้งหมดภายในเวลา 3 วัน ถ้าอากาศชื้นจะใช้เวลามากขึ้น ละอองเกสรจะมีชีวิตอยู่ได้ 7 วัน แต่หลังจากวันที่ 4 ความมีชีวิตจะต่ำลง เมื่อดอกเจริญเต็มที่ช่อดอกย่อยตัวผู้มีขนาดยาว 10 - 20 ซม.หนา 0.8 - 1.5 เซนติเมตร มีลักษณะคล้ายนิ้วมือ ต้นปาล์มน้ำมันที่โตเต็มที่ช่อดอกตัวผู้ 1 ดอกให้ละอองเกสรมีน้ำหนักประมาณ 30 - 50 กรัม
ทะลายปาล์มน้ำมัน ประกอบด้วย
ก้านทะลาย ช่อทะลายย่อย และผล ในแต่ละทะลายมีปริมาณผล 45 -70 เปอร์เซ็นต์ ทะลายปาล์มน้ำมันเมื่อสุกแก่เต็มที่
มีน้ำหนักประมาณ 1 - 60 กิโลกรัม แปรไปตามอายุของปาล์มน้ำมัน
และปัจจัยสิ่งแวดล้อมแบบการปลูกเป็นการค้าต้องการทะลายที่มีน้ำหนัก 10 - 25 กก. จำนวนทะลายต่อต้นก็มีความแตกต่างเช่นกัน
โดยมีสหสัมพันธ์ทางลบกับน้ำหนักทะลาย
ผลปาล์มน้ำมันไม่มีก้านผล (sessile drup) รูปร่างมีหลายแบบ
ตั้งแต่รูปเรียวแหลมจนถึงรูปไข่หรือรูปยาวรี ความยาวผลอยู่ระหว่าง 2 - 5 เซนติเมตร น้ำหนักผลมีตั้งแต่ 3 กรัม จนถึงประมาณ 30 กรัม ประกอบด้วยผิวเปลือกนอก (exocarp) ชั้นเปลือกนอก
(mesocarp) เป็นเนื้อเยื่อเส้นใย
สีส้มแดงเมื่อสุกและมีน้ำมันอยู่ในชั้นนี้
คุณประโยชน์ของปาล์มน้ำมัน
ลักษณะเด่นของปาล์มน้ำมัน1.1. เป็นพืชที่ปลูกได้จำกัดเฉพาะพื้นที่ในเขตพื้นที่ร้อนชื้นเท่านั้น ซึ่งภาคใต้เป็นพื้นที่ที่เหมาะสมที่สุด
1.2.เป็นพืชที่สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมในประเทศไทยได้ดี
1.3.เป็นพืชที่ให้ผลผลิตน้ำมันต่อหน่วยพื้นที่สูงที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับพืชน้ำมันชนิดอื่น ๆ ที่ให้ราคาถูกกว่าน้ำมันพืชชนิดอื่น
1.4.เป็นพืชที่ให้พลังงานที่จำเป็นต่อการบริโภคและอุปโภคของประชากรในชีวิตประจำวัน
1.5.เป็นพืชที่ให้วัสดุพลอยได้จากทุกส่วนของต้นปาล์มที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อไปได้
1.6.เป็นพืชที่มีจำนวนต้นต่อพื้นที่ปลูกน้อย (ประมาณ 22 ต้นต่อไร่) ทำให้ง่ายต่อการจัดการด้านแรงงาน
1.7.เป็นพืชยืนต้นที่สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตทะลายได้ตลอดทั้งปี อายุการเก็บเกี่ยวมากกว่า 25 ปี จึงทำให้เกษตรกรและผู้ประกอบการโรงงานมีรายได้ต่อเนื่องตลอดทั้งปีและมีระยะ เวลาติดต่อกันนาน
1.8. เป็นพืชที่ทนทานต่อการเกิดภัยธรรมชาติ เช่น กรณีเกิดไฟไหม้สวน ปาล์มน้ำมันสามารถฟื้นสภาพกลับมาเจริญเติบโตและให้ผลผลิตได้ใหม่
1.9.เป็นพืชน้ำมันที่มีความสำคัญในอนาคต โดยเฉพาะในสถานการณ์ที่น้ำมันเชื้อเพลิงธรรมชาติขาดแคลนหรือมีราคาสูงมากๆ อาจจะใช้น้ำมันปาล์มมาเสริมทดแทนได้บางส่วน
การนำไปใช้ประโยชน์ |
1. CPO Crude Palm Oil เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากกระบวนการสกัดผลปาล์มสด (Fresh Fruit Bunch) เพื่อให้ได้น้ำมันปาล์มดิบ มีลักษณะข้น สีส้มขุ่น ณ อุณหภูมิปกติ
คุณสมบัติ : ใช้เป็นวัตถุดิบในกระบวนการกลั่นน้ำมันปาล์ม เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ต่อเนื่องอื่น ๆ
2. KO Crude Palm Kernel Oil เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการสกัดเมล็ดในปาล์ม (Kernel) เพื่อให้ได้น้ำมันเมล็ดในปาล์ม มีลักษณะกึ่งของเหลว สีเหลืองอบน้ำตาล ณ อุณหภูมิปกติ
คุณสมบัติ : ใช้เป็นวัตถุดิบในกระบวนการกลั่นน้ำมันเมล็ดในปาล์ม เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ต่อเนื่องอื่น ๆ
3. RKO RBD palm Kernel Oil เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันเมล็ดในปาล์ม (KO) เพื่อให้ได้น้ำมันเมล็ดในปาล์มบริสุทธิ์ มีลักษณะกึ่งของเหลว สีเหลืองอ่อน ณ อุณหภูมิปกติ
คุณสมบัติ : ใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมผลิตสบู่ อุตสาหกรรมอาหาร เช่น นมข้นหวาน ไอศกรีม เนยขาว ฯลฯ
4. RPO RBD Palm Oil เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันปาล์มดิบ (CPO) เพื่อให้ได้น้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ มีลักษณะกึ่งของเหลว สีเหลืองอ่อน ณ อุณหภูมิปกติ
คุณสมบัติ : ช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมอาหาร เช่น อุตสาหกรรมการผลิตบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป เนยเทียม ไอศกรีม นมข้นหวาน สบู่ เป็นต้น
5. ROL RBD Palm Oil เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการแยกไขปาล์มบริสุทธิ์ออกจากน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ (RPO) เพื่อให้ได้น้ำมันปาล์มโอเลอิน มีลักษณะใส สีเหลือง ณ อุณหภูมิปกติ และไม่มีสิ่งเจือปน
คุณสมบัติ : ใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมอาหารที่เกี่ยวกับการทอดทุกชนิด เช่น ขนมขบเคี้ยว อาหารทอดสำเร็จรูป ฯลฯ รวมถึงการนำไปใช้ประกอบอาหารภายในครัวเรือน
6. PHST RBD Palm Stearin เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการแยกไขปาล์มบริสุทธิ์ออกจากน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ (RPO) เพื่อให้ได้ปาล์มบริสุทธิ์ มีลักษณะเป็นของแข็งสีขาว ณ อุณหภูมิปกติ
คุณสมบัติ : ใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมอาหาร เช่น อุตสาหกรรมการผลิตเนยเทียม เนยขาว ครีมฉาบหน้าขนม ฯลฯ รวมถึงอุตสาหกรรมผลิตสบู่โอลีโอเคมีคอล ฯลฯ
7. PFAD Palm Fatty Acid Distillate เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้หลังจากการกลั่นน้ำมันปาล์มดิบ (CPO) เพื่อให้ได้กรดไขมันปาล์ม มีลักษณะเป็นของแข็งสีน้ำตาลอ่อน ณ อุณหภูมิปกติ
คุณสมบัติ : ใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมการผลิตสบู่ อุตสาหกรรมโอลีโอเคมีคอล การผลิตวิตามิน E รวมถึงอุตสาหกรรมการผลิตไบโอดีเซล
8. KFAD Palm Kernel Fatty Acid Distillate ผลิตภัณฑ์ที่ได้หลังจากการกลั่นน้ำมันเมล็ดในปาล์ม (KO) เพื่อให้ได้กรดไขมันเมล็ดในปาล์ม มีลักษณะใสสีเหลือง ณ อุณหภูมิปกติ
คุณสมบัติ : ใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมผลิตสบู่ อุตสาหกรรมโอลีโอเคมีคอล รวมถึงอุตสาหกรรมผลิตไบโอดีเซล
9. KM Kernel Meal ผลิตภัณฑ์ที่ได้หลังจากการสกัดน้ำมันออกจากเมล็ดในปาล์ม (Kernel) เพื่อให้ได้กากเมล็ดในปาล์ม มีลักษณะเป็นเกล็ดละเอียด สีน้ำตาลอ่อน
คุณสมบัติ : ใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสัตว์ใหญ่
10. ใบปาล์มน้ำมัน ในสวนปาล์มน้ำมันเมื่อมีการแต่งทางใบ สามารถสับย่อยทางใบและนำไปเลี้ยงสัตว์จำพวกวัว ควาย และม้าได้ โดยทางใบเป็นแหล่งของเส้นใย และวิตามินอีที่สำคัญ
ที่มา
Cpi. (2559). ประโยชน์ของปาล์มน้ำมัน.
สืบค้นเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2559,
จาก www.cpiagrotech.com
phumalefarm. (2559). ใบต้นปาล์ม.
สืบค้นเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2559,
จาก www.phumalefarm.com
pixabay. (2559). ดอกต้นปาล์ม.
สืบค้นเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2559,
จาก www.pixabay.com
matichon. (2559). ทะลายต้นปาล์ม.
สืบค้นเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2559,
จาก www.matichon.co.th
thairath. (2559). ผลต้นปาล์ม.
สืบค้นเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2559, จาก
www.thairath.co.th
มนตรา. (2559).
รากต้นปาล์ม. สืบค้นเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2559,
จาก
www.montra.co.th
วิชาการปาล์มน้ำมัน. (2559). ปาล์มน้ำมัน. สืบค้นเมื่อวัันที่ 26 มิถุนายน 2559,
จาก www.doa.go.th
ใช้ภาพถ่าย ในโรงเรียน ของจริงวส่วนใหญ่
ตอบลบปรับปรุง เนื้อหาให้ครบ การใช้ประโยชน์
(ดูรูปแบบจากเฟส Kruwee suteerakui)
ใช้ภาพถ่าย ในโรงเรียน ของจริงวส่วนใหญ่
ตอบลบปรับปรุง เนื้อหาให้ครบ การใช้ประโยชน์
(ดูรูปแบบจากเฟส Kruwee suteerakui)